วิสัยทัศน์ นโยบายด้านจราจรและขนส่งในระดับชาติ

การขนส่งคน

1. แผนระยะที่หนึ่ง ใช้รถเมล์ในการแก้ปัญหาจราจรในเขตพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล โดยพัฒนารถเมล์ให้มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และไปได้รวดเร็วเหมือนรถไฟฟ้า สามารถกำหนดเวลาในการเดินทางได้ เด็กนักเรียนไม่ต้องตื่นแต่เช้ามืดอีกต่อไป คนทำงานสามารถเข้าทำงานได้ตรงเวลา ค่าโดยสารราคาถูกกึ่งสวัสดิการ ประชาชนสามารถใช้บริการได้ทุกวันทำงานโดยไม่เดือดร้อน ใช้เวลาดำเนินการทั้งระบบประมาณ 2 ปี
2. แผนระยะที่สอง พัฒนาระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน เพื่อขนส่งคนจำนวนมากๆ จากเขตปริมณฑลเข้าสู่ใจกลางกรุงเทพฯ ซึ่งจะช่วยรองรับปริมาณการเดินทางของประชาชนที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 ปี
3. แผนระยะที่สาม พัฒนาระบบรถไฟฟ้าบนดิน ที่เชื่อมสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในเขตปริมณฑลกับหัวเมืองรอง 4 แห่งรอบกรุงเทพฯ และส่งเสริมการจัดสร้างชุมชนที่อยู่อาศัยราคาถูกรายรอบสถานีรถไฟฟ้า ( City on rail ) เพื่อลดการสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางในระบบถนน ซึ่งจะช่วยลดการเดินทางโดยรถยนตร์ และส่งผลให้การใช้พลังงานน้ำมันลดลง ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 5 ปี
4. แผนระยะที่สี่ พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เชื่อมกรุงเทพฯ สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ทุกภาคของประเทศ และต่อเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต เมื่อการเดินทางด้วยระบบรางมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันทั่วประเทศแล้ว จะทำให้การเดินทางโดยรถยนต์ลดลง อุบัติเหตุจราจรจะลดลงตาม และการใช้พลังงานน้ำมันก็จะลดลงเช่นกัน
หมายเหตุ ไม่ส่งเสริมการโดยสารทางน้ำ เนื่องจากต้นทุนการดำเนินการสูงกว่า บริโภคน้ำมันมากกว่า และโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงกว่า แต่จะช่วยกำกับดูแลการบริการที่มีอยู่ตามความเหมาะสม เพื่อสนองความต้องการของประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ริมน้ำ

การขนส่งสินค้า
          ส่งเสริมและสนับสนุนการขนส่งทางรถไฟและทางน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดการขนส่งทางถนน ซึ่งจะช่วยลดปริมาณรถบรรทุกในท้องถนน ลดอุบัติเหตุจราจร และลดการใช้พลังงานน้ำมันลงใน อนาคต

หัวข้อ ปัญหาจราจรของกรุงเทพฯและการแก้ไข  ระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน  นโยบายด้านจราจรและขนส่งในระดับชาต
บทความอ่านประกอบเพื่อทำความเข้าใจในวิธีการแก้ปัญหาจราจร  รายละเอียดแผนดำเนินการ ค่าธรรมเนียมรถติด ช่วยแก้ปัญหาจราจร

เข้าสู่โฮมเพจหลัก ผลงานวิจัยของ นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย