ระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน ( Bus Rapid Transit )


ภาพแสดงระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน

          เป็นระบบขนส่งมวลชนที่พัฒนาให้รถเมล์มีคุณภาพใกล้เคียงรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แต่ใช้งบลงทุนและงบดำเนินการน้อยกว่ามาก สามารถสร้างให้เสร็จภายในระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2 - 4 ปี เหมาะสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย ในต่างประเทศมีการดำเนินการและประสบความสำเร็จมาแล้วหลายสิบแห่ง เช่น เมืองคูริติบา , เมืองเซาเปาโล ประเทศบราซิล



ระบบรถเมล์ด่วนของเมืองคูริติบา ประเทศบราซิล


เมืองโบโกต้า ประเทศโคลอมเบีย



ระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชนของเมืองโบโกต้า ประเทศโคลอมเบีย


เมือง Rouen ประเทศฝรั่งเศส

ระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชนในเมืองโรออง ประเทศฝรั่งเศส


เมือง Bradford , Leeds และ Ipswich ประเทศอังกฤษ

ระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน ใน 3 เมืองของประเทศอังกฤษ


เมือง Brisbane ประเทศออสเตรเลีย

ระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชนของเมืองบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย




รายชื่อเมืองในทวีปต่างๆที่ใช้ระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน


          องค์ประกอบสำคัญของระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน ได้แก่
1. ระบบรถเมล์โดยสาร มี 2 ระบบ คือ
          1.1 ระบบรถเมล์ด่วน มี 3 ระบบย่อย คือ
                    1.1.1 รถเมล์ชิดเกาะกลางในช่องทางบัสเลนของถนนสายหลัก ที่มีช่องทางเดินรถฝั่งละ 3 ช่องทางขึ้นไป ใช้รถพ่วงปรับอากาศ
                    1.1.2 รถเมล์ชิดขอบทางเท้าด้านขวาในช่องทางบัสเลนของถนนสายรอง ในเขตกรุงเทพฯชั้นในที่กำหนดเป็นเส้นทางวันเวย์ ใช้รถพ่วงปรับอากาศที่แล่นต่อเนื่องมาจากระบบ 1.1.1
                    1.1.3 รถเมล์ด่วนพิเศษ ขนส่งผู้โดยสารจากชานเมือง ขึ้นทางด่วนมาลงใจกลางเมืองรวดเดียว ใช้รถเมล์เล็กและรถตู้โดยสาร ( จัดรถตู้ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน มาเข้าระบบนี้ )
          1.2 ระบบรถเมล์ธรรมดา แล่นชิดขอบทางด้านซ้าย แล่นในแนวตรงและวนซ้ายเป็นส่วนใหญ่ ไม่ต้องกำหนดบัสเลน ใช้รถเมล์ร้อนที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก
2. ระบบตั๋ว ใช้ตั๋วต่อ เสียเงินครั้งเดียวใช้ได้ทั้งวัน ฉะนั้น แผนการเดินทางของผู้โดยสาร จะ ยึดตามแนวถนนเป็นหลัก และไม่ต้องเสียเวลารอรถเมล์ตามสายเดินรถแบบเดิม
3. สถานี ( ที่พักผู้โดยสาร ) อยู่บนสะพานลอยคนข้ามหรืออุโมงค์ลอดถนนขนาดใหญ่ ที่มี ทางขึ้นลง 3 แห่ง คือ ทางเท้า 2 ฝั่งถนน และเกาะกลางถนนที่ปรับปรุงเป็นที่จอดรับ-ส่ง ผู้โดยสาร


ภาพแสดงสถานีโดยสาร และการเข้า/ออกจากรถของผู้โดยสาร




ภาพแสดงรถเมล์โดยสารรูปแบบที่ทันสมัย




แสดงลักษณะรถเมล์ที่ใช้ในระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน




แสดงลักษณะภายในรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน



หลังจากระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชนเริ่มให้บริการแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯโดยรวมในทางที่ดีขึ้น คือ

1. ประชาชนจะใช้เวลาในการเดินทางไปทำงานหรือไปสถานศึกษา ลดลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัว หรือไปสันทนาการได้เพิ่มขึ้น
2. เด็กนักเรียนไม่ต้องตื่นแต่เช้ามืดอีกต่อไป มีเวลานอนเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของเด็ก คนทำงานสามารถไปทำงานได้ตรงเวลา ช่วยลดความเครียดจากการเดินทาง ทำให้สุขภาพจิตของพนักงานดีขึ้น
3. ไม่ว่าฝนจะตก น้ำจะท่วม รถจะติดแสนสาหัสอย่างไรก็ตาม เราจะยังเหลือทางออกสุดท้าย ที่จะหลีกหนีสภาพรถติดในท้องถนน และไปที่ไหนก็ได้ทั่วพื้นที่กรุงเทพฯตามเวลาที่กำหนด ด้วยระบบรถเมล์ชิดเกาะกลางถนน



แสดงภาพรถติดเต็มท้องถนน แต่ยังมีระบบรถเมล์ด่วนชิดเกาะกลางที่ยังสามารถไปได้สะดวก


4. เมื่อประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทาง มาใช้ระบบขนส่งมวลชนเพิ่มขึ้น เนื่องจาก สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และประหยัดกว่า ผลดีที่จะตามมาก็คือ
           4.1 จะมีการเดินและใช้ทางเท้ากันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของคนกรุงเทพฯ เพราะการเดิน เป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด และเหมาะสมกับคนทุกเพศทุกวัย



ทางเท้ากว้างขวาง


          4.2 ปริมาณรถส่วนตัวจะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ ทำให้การจราจรค่อยๆคล่องตัวขึ้นตามลำดับ มลพิษในอากาศจะลดลง และการใช้พลังงานน้ำมันก็จะลดลงตามมา ( สภาพเศรษฐกิจที่เริ่มตึงตัว และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มแพงขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นแรงกดดันให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการเดินทาง )
          4.3 ทางเท้าในถนนสายหลักและถนนสายรอง จะได้รับการปรับปรุงให้มีสภาพที่ร่มรื่น กว้างขวาง เดินสะดวก และจะมีการทำทางเท้าปลอดภัยอย่างน้อยหนึ่งฝั่ง ทุกตรอกซอกซอย เพื่อให้ประชาชนสามารถเดินออกมาจากบ้านด้วยความสะดวกและปลอดภัย
          4.4 เมื่อคนกรุงเทพฯออกมาเดินกันมากขึ้น จะเกิดการปฏิสัมพันธ์ของผู้คนและช่วยให้การค้าการขายดีขึ้น เป็นการส่งเสริมธุรกิจในระดับรากหญ้า สำหรับแม่ค้าที่ขายของอยู่เดิมบนทางเท้าในถนนสายหลักและถนนสายรอง จะได้รับการช่วยเหลือให้คงอาชีพเดิมในสถานที่ที่จัดเตรียมเอาไว้ 3 รูปแบบ คือ
                    4.4.1 บริเวณพื้นที่ว่างริมถนนสายหลักและถนนสายรอง เพื่อพัฒนาเป็น ลานคนเดิน
                    4.4.2 จะมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงถนนสายสั้นๆที่เชื่อมระหว่างถนนสายหลัก / ถนนสายรอง เพื่อพัฒนาเป็น ลานคนเดิน เช่นกัน
                    4.4.3 ร้านค้าย่อยบนสะพานลอยคนข้ามหรืออุโมงค์ลอดถนน ที่สร้างเป็นที่พักผู้โดยสารของระบบรถเมล์ชิดเกาะกลาง
          4.5 ลานคนเดิน ลักษณะเป็นลานกว้าง มีขนาดเล็กหรือใหญ่ตามขนาดพื้นที่ที่จัดหามาได้ มีพื้นราบเสมอกันตลอด มีส่วนของต้นไม้ใหญ่ที่ให้ความร่มรื่น มีสวนหย่อม น้ำพุ ธารน้ำไหล มีบริเวณขายของให้กับแม่ค้าหาบเร่ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทย มีม้านั่งสำหรับนั่งพักผ่อน มีส่วนที่เป็นหลังคาหรือซุ้มเพื่อใช้หลบฝน ส่งเสริมให้มีกิจกรรมสันทนาการเพื่อให้โอกาสกับศิลปินหรือนักแสดงอิสระ มีสนามกีฬาขนาดเล็กสำหรับเยาวชน ฯลฯ





ลานคนเดิน



หัวข้อ ปัญหาจราจรของกรุงเทพฯและการแก้ไข  ระบบรถเมล์ด่วนขนส่งมวลชน  นโยบายด้านจราจรและขนส่งในระดับชาติ
บทความอ่านประกอบเพื่อทำความเข้าใจในวิธีการแก้ปัญหาจราจร  รายละเอียดแผนดำเนินการ ค่าธรรมเนียมรถติด ช่วยแก้ปัญหาจราจร

เข้าสู่โฮมเพจหลัก ผลงานวิจัยของ นพ. สมเกียรติ อธิคมกุลชัย